ลักษณะพิเศษของข้าวเจ้าหอมนิล | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวที่ได้รับการคัดเลือก และพัฒนาจนได้ข้าวที่มีเมล็ดข้าวกล้องเรียวยาว สีม่วงเข้ม ข้าวกล้องเมื่อหุงสุกจะนุ่มเหนียว และมีกลิ่นหอม น่ารับประทาน ที่สำคัญคือ ข้าวกล้องมีโปรตีนสูงถึง 12.5% ปริมาณคาร์โบไฮเดรต 70% ปริมาณ amylose 16% และยังประกอบไปด้วย ธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง แคลเซียม และโพแทสเซียม ซึ่งสูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 (ตารางที่ 1) การศึกษาเอกลักษณ์ทางพันธุกรรมโดยใช้โมเลกุลเครื่องหมายชนิด microsatellite จำนวน 48 ตำแหน่ง มาทำการตรวจสอบ ชี้ให้เห็นว่า ข้าวเจ้าหอมนิลมีความแตกต่างจากข้าวพันธุ์ Hei Bao และ Xua Bue Huqที่เป็นข้าวเมล็ดสีดำของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จึงยืนยันได้ว่าข้าวทั้ง 3 ไม่ได้เป็นพันธุ์เดียวกัน
ที่มา : Chrispeels, M.L. and E.S. David. 1994. Plants, Genes and Agriculture. Jones and Bartlett Publishers. London. England. 478 p.
ลักษณะทางโภชนาการ ข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยมีโปรตีนอยู่ในช่วงประมาณ 10-12.5 % มีปริมาณแป้งอะมัยโลสประมาณ 12-13% มีปริมาณสาร 2-acetyl-1-pyrroline ปานกลาง ร่วมกับสารหอมระเหยจำเพาะ พวก Cyclohexanone ในปริมาณมาก มีแคลเซียม 4.2 มิลลิกรัมต่อ100 กรัม ปริมาณธาตุเหล็กแปรปวนอยู่ระหว่าง 2.25- 3.25 มิลลิกรัมต่อ100 กรัม และธาตุสังกะสีประมาณ 2.9 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม
ข้าวเจ้าหอมนิลมีปริมาณสาร antioxidation สูงประมาณ 293 ไมโครโมลต่อกรัม ในส่วนของเยื่อหุ้มเมล็ดที่เป็นสีม่วงเข้มประกอบไปด้วยสาร anthocyanin, proanthocyanidin, bioflavonoids และวิตามิน E ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และสีผสมอาหารตามธรรมชาติ ในส่วนของรำและจมูกข้าว มีวิตามิน E วิตามิน B และกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ในส่วนของรำมีน้ำมันรำข้าว 18% เป็นองค์ประกอบ ซึ่ง 80 % เป็นชนิด C18:1 และ C18:2 เหมือนกับน้ำมันที่ได้จากถั่วเหลืองและข้าวโพดและพบว่ามีสาร omega-3 ประมาณ 1-2 % รำข้าวของเจ้าหอมนิลมีปริมาณเส้นใย digestible fiber สูงถึง 10% จากข้อมูลทางโภชนาการนับได้ว่าข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวที่มีศักยภาพในการนำมาแปรรูปทางอุตสหกรรมอาหารสูง เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารจากแป้งข้าวเจ้าหอมนิล รวมทั้งขนมขบเคี้ยวต่าง
คุณประโยชน์ของสีม่วงในข้าวเจ้าหอมนิล ข้าวเจ้าหอมนิลมีเมล็ดสีม่วงดำ เมื่อวิเคราะห์ปริมาณสีของเมล็ด สีม่วงดำประกอบไปด้วย สีม่วงเข้ม (cyanidin) สีชมพูอ่อน (peonidin) และสีน้ำตาล (procyanidin) ผสมกัน ซึ่งสีที่เห็นนั่นเป็นสารประกอบกลุ่ม flavonoid ที่เรียกว่า สารแอนโทไซยานิน (anthocyanin) ที่ประกอบไปด้วยสาร cyanidin กับ สาร peonidin สารโปรแอนโทไซยานิดิน (proanthocyanidin) ประกอบด้วยสาร procyanidin ซึ่งสารดังกล่าวทั้งหมดนี้เป็นสาร antioxidant ที่ทำหน้าจับกับอนุมูลอิสระแล้วช่วยทำให้กลไกลการทำงานของร่างกายมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าปกติ
สารแอนโทไซยานิน มีรายงานวิจัยพบว่า สามารถช่วยลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ ช่วยลดไขมันอุดตันในเส้นเลือดที่หัวใจ และสมอง บรรเทาโรคเบาหวาน ช่วยบำรุงสายตาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นเวลามองตอนกลางคืน สาร cyanidin มีประสิทธิภาพในการ antioxidation ได้ดีกว่าวิตามินอี หลายเท่า และยังยับยั้งการเจริญเติบโตของ epidermal growth factor receptor ในเซลล์มะเร็ง สารโปรแอนโทไซยานิดิน หรือเรียกว่าสาร condensed tannins มีรายงานวิจัยพบว่า สารโปรแอนโทไซยานิดิน ทำการ antioxidation ได้ดีกว่าวิตามินซี วิตามินอี และ เบต้าแคโรทีน (beta-carotene) สาร โปรแอนโทไซยานิดิน ยังไปจับกับอนุภาคของกัมมันตภาพรังสีทำให้เซลล์ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ และช่วยลดไขมันอุดตันในเส้นเลือดป้องกันโรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูง ยังยับยั้งการเจริญเติบของเซลล์มะเร็งเต้านม ปอด กระเพาะอาหาร และเม็ดเลือดขาว และยังป้องกันไวรัส HSV-1 และยับยั้งการทำงานของเอมไซม์ reverse transcriptase ใน ไวรัส HIV
|
วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2555
ข้าวหอมนิล
ข้าวลืมผัว
ข้าวลืมผัว จัดเป็นข้าวไร่ที่ปลูกในเขตพื้นที่สูง มีอากาศเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีฝนกระจายตัวสม่ำเสมอ ปัจจุบันมีแหล่งปลูกมากที่ อ.พบพระ จ.ตาก และเริ่มกระจายมาที่อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์
ข้าวชนิดนี้ เป็นข้าวดั้งเดิมของชาวม้ง ปกติชาวม้งมักจะใช้ประกอบพิธีกรรม รวมทั้งแปรรูป นำมาตำ ให้เป็นแป้ง แล้ว นำไปย่าง พกห่อไว้บริโภคระหว่างเดินทาง
![]() |
ข้าวลืมผัว |
สถิติสูงสุดเมื่อปลูกในสภาพไร่และฟ้าอากาศเหมาะสม ได้ 490 กิโลกรัมต่อไร่
เมื่อนำมาปลูกในพื้นราบ ผลผลิตที่ได้ 200-350 กิโลกรัมต่อไร่ ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว
ข้าวลืมผัว มีสีเปลือกหุ้มเมล็ดเปลี่ยนไปตามระยะการเจริญเติบโตของเมล็ด เยื่อหุ้มเมล็ดเป็นสีม่วงดำ ที่เรียกว่า ข้าวเหนียวดำ หรือ ข้าวก่ำ
เป็นข้าวเหนียวที่มีกลิ่นหอม รสชาติอร่อย เมื่อเคี้ยวจะรู้สึกมันและนุ่มแบบหนุบๆ
การบริโภคทำได้ทั้งแบบข้าวเหนียวนึ่ง รับประทานกับอาหาร ผสมข้าวต้มทำให้มีสีม่วงอ่อนสวยงาม ทำเป็นขนมแบบข้าวเหนียวเปียก ทำเป็นชาข้าวคั่วแบบเพิร์ล บาร์เลย์ หรือ เครื่องดื่มทั้งแบบมีแอลกอฮอล์หรือปราศจากแอลกอฮอล์ จะมีสีคล้ายทับทิมสวยงาม
รสชาติที่อร่อยเช่นนี้เอง จนเป็นที่มาของชื่อข้าว นั่นคือ อร่อยจนลืมผัว
![]() |
ภาพข้าวลืมผัว |
คุณค่าทางโภชนาการที่เด่นเป็นพิเศษ เมื่อวิเคราะห์ทันทีหลังเก็บเกี่ยวฤดูนาปี 2552 พบว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระ (แอนติออกซิแดนต์) โดยรวม ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งในปริมาณสูงถึง 833.77 มิลลิกรัม กรดแอสคอร์บิก ต่อ 100 กรัม
มีวิตามินอี (อัลฟา-โทโคฟีรอล) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยลดคอเลสเตอรอล ปริมาณ 16.83 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
มีแกมมา-โอไรซานอล ที่ช่วยลดคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ตลอดจนการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ปริมาณ 508.09 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
มีกรดไขมันที่ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันภาวะเสื่อมของสมองและช่วยความจำ ได้แก่ โอเมก้า-3 อยู่ 33.94 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม
มีโอเมก้า-6 ที่บรรเทาอาการขาดภาวะเอสโตรเจนของวัยทองและช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สูงถึง 1,160.08 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม
มีโอเมก้า-9 ซึ่งช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดไม่อุดตัน ไม่เป็นโรคหัวใจ โรคพาร์กินสัน และช่วยลดความอ้วนสูงถึง 1,146.41 มิลลิกรัมต่อ 100 กิโลกรัม
มีแอนโทไซยายิน 46.56 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม โปรตีน 10.63 เปอร์เซ็นต์ ธาตุเหล็ก 84.18 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนแคลเซียม สังกะสี และแมงกานีส มีในปริมาณ 169.75, 23.60 และ 35.38 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ
เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดย บริษัทห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาเชียงใหม่, สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี
สารอาหารในข้าว
สารอาหารในข้าว
ข้าวเป็นอาหารหลักของชาวไทยและชาวเอเชียมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ จากความรู้พื้นฐานในชั้นประถมครูจะสอนนักเรียนว่าองค์ประกอบหลักในข้าวชนิดต่างๆ คือแป้ง อย่างไรก็ตามในข้าวยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ประกอบในข้าวที่มีรงควัตถุสีดำหรือสีแดง เช่นข้าวเหนียวดำและข้าวแดงเป็นต้น รงควัตถุสีดำหรือสีแดงที่พบในข้าวมีหน้าที่ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) สำหรับอนุมูลอิสระนั้นได้พบว่ามีบทบาทที่สำคัญต่อกระบวนการชราและการเกิดโรคต่างๆ ในมนุษย์เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ เป็นต้น โดยปกติระบบการต่อต้านอนุมูลอิสระในพืชและในสัตว์สามารถแบ่งออกได้ 2 รูปแบบด้วยกันคือ 1) ระบบที่ใช้เอนไซม์เช่น superoxide dismutase, catalase และ ascorbate peroxidase และ 2) ระบบที่ไม่ใช้เอนไซม์เช่น วิตามินซี วิตามินอี กลูตาไทออน รงควัคถุในกลุ่มแคโรทีนอยด์และฟลาโวนอยด์เป็นต้น ระบบการต่อต้านอนุมูลอิสระจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติในสิ่งมีชีวิตในกรณีที่มีการสะสมอนุมูลอิสระจากสภาวะ oxidative stress ไม่ว่าจะเป็น superoxide radical หรือ hydroxyl radical แต่ในกรณีที่มีการสะสมอนุมูลอิสระในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้กลไกการกำจัดอนุมูลอิสระในสิ่งมีชีวิตไม่สามารถต้านทานได้จึงส่งผลเสียต่อสิ่งมีชีวิต ดังนั้นการได้รับสารต่อต้านอนุมูลอิสระจากภายนอกจึงเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยป้องกันหรือบรรเทาอันตรายจากอนุมูลอิสระ
![]() |
ประโยชน์ ของข้าวต่างๆ |
สำหรับในบทความนี้จะขอกล่าวถึงบทบาทของรงควัตถุในข้าวต่อการกำจัดอนุมูลอิสระในสิ่งมีชีวิต รงควัตถุในข้าวที่พบเห็นกันโดยทั่วไปมีสีดำ สีแดง หรือสีในโทนม่วงดำ จากการศึกษาพบว่ารงควัตถุเหล่านี้ถูกจัดอยู่ในรงควัตถุประเภทฟลาโวนอยด์โดยเฉพาะกลุ่มแอนโทไซยานิน ซึ่งแอนโทไซยานินในข้าวแดงและข้าวเหนียวดำจัดอยู่ในกลุ่มของ cyaniding-3-O-beta-D-glucoside (Cy 3-Glc) ที่ตรวจพบมากในพืชทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนใบของพืช จากการศึกษาของทีมวิจัยด้านเภสัชศาสตร์ในประเทศญี่ปุ่นพบว่ารงควัตถุที่สกัดได้จากข้าวที่มีสีม่วงดำมีคุณสมบัติในการกำจัดอนุมูลอิสระในกลุ่ม superoxide radical และกลุ่ม hydroxyl radical นอกจากนี้นักวิจัยในประเทศอเมริกาพบว่าข้าวและธัญญพืชที่มีรงควัตถุสีดำหรือสีแดงมีกิจกรรมของการต่อต้านอนุมูลอิสระสูงใกล้เคียงกับผลบลูเบอรี่ ซึ่งผลไม้ในตระกูลเบอรี่ได้ชื่อว่าเป็นแห่งที่ดีของสารต่อต้านอนุมูลอิสระ
ส่วนในประเทศจีนได้มีการศึกษาผลของข้าวที่มีสีแดงและสีดำต่อการอุดตันของไขมันในเส้นเลือดกระต่ายโดยเปรียบเทียบกับการเลี้ยงด้วยข้าวขัดขาวพบว่าภาวะการอุดตันของเส้นเลือดของกระต่ายที่กินข้าวแดงมีค่าน้อยกว่ากระต่ายที่กินข้าวขัดขาวถึงร้อยละ 50 นอกจากนี้ยังพบว่าระดับของระดับของ reactive oxygen species และ malondialdehyde (ผลผลิตของการเกิด lipid peroxidation) ที่อยู่ในตับของกระต่ายที่กินข้าวแดงมีการสะสมในปริมาณน้อย ในขณะเดียวกันมีกิจกรรมการต่อต้านอนุมูลอิสระและกิจกรรมของเอนไซม์ superoxide dismutase เพิ่มสูงขึ้น และยังพบว่าข้าวแดงยังช่วยให้มีการสะสมของ DHL ซึ่งเป็นคลอเลสเตอรอลชนิดที่เป็นประโยชน์ในเลือดกระต่ายอีกด้วย ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าการบริโภคข้าวที่มีรงควัตถุสีแดงหรือสีดำมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการรักษาระดับการต่อต้านอนุมูลอิสระภายในสิ่งมีชีวิต ข้าวที่มีสีน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพของตัวเอง เนื่องจากในโลกปัจจุบันพบว่าประชากรโลกมีการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการบริโภค ทำให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรค เพียงแต่ผู้บริโภคให้ความสนใจและระมัดระวังเกี่ยวการกินอีกสักนิดจะทำให้ชีวิตห่างไกลโรค
ที่มา ดร. วาริช ศรีละออง
สายวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ข้าวไรซ์เบอรี่ Riceberry ( ต้านโรคมะเร็ง )
ข้าวไรซ์เบอรี่ | Riceberry ได้มาจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิล กับ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เช่นเดียวกับพันธุ์ไรซ์เบอรี่ ปลูกได้ทั้งปี รูปร่างเมล็ดเรียวยาว ต้านทานโรคไหม้ดีมาก ทนทานต่อสภาพธาตุเหล็กเป็นพิษในดิน Acid sulfate soil #2 ข้าวเจ้าสีม่วงเข้มมากและมีกลิ่นหอมมะลิ นอกจากนี้ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระในเมล็ดสูงมาก โดยเฉพาะสารประกอบโพลีฟีนอล
![]() |
ภาพรวงข้าวไรซ์เบอรี่ |
ลักษณะพิเศษของข้าวพันธุ์ไรซ์เบอรี่ Riceberry
ลักษณะประจำพันธุ์
ความสูง 145ซม.
อายุเก็บเกี่ยว 127 วัน
ผลผลิต 600-700 กก./ไร่
% ข้าวกล้อง (brown rice) 78%
% ต้นข้าวหรือข้าวเต็มเมล็ด (head rice) 50%
ความยาวของเมล็ด ข้าวเปลือก 11 ม.ม.
ข้าวกล้อง 7.8 ม.ม. ข้าวขัด 7.0 ม.ม.
![]() |
ภาพข้าวไรซ์เบอรี่ |
คุณสมบัติทางโภชนาการในข้าวกล้องไร ซ์เบอรี่ Riceberry
ปริมาณ Amylose 18.3 %
วิตามิน อี 577 ug/100g
เบต้าแคโรทีน 21.61 ug/100g
คุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระ (FRAP) 30.91 umole TE/g
คุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระ (ORAC) 134.29 umole TE/g
ฟัยเตท 659.24 mg/100g
โพลีฟีนอล 202.5 mg/100g
แทนนิน 66.78 mg/100g
ข้าวไรซ์เบอรี่ Riceberry (ต้านอนุมูลอิสระสูง)
ข้าวไรซ์เบอรี่ Riceberry
ได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิลกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 ลักษณะเป็นข้าวเจ้าสีม่วงเข้ม รูปร่างเมล็ดเรียวยาว ข้าวกล้องมีความนุ่มนวลมาก สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ให้ผลผลิตต่อไร่สูง ต้านทานต่อโรคไหม้ได้เป็นอย่างดี
คุณสมบัติเด่นทางด้านโภชนาการของข้าวไรซ์เบอรี่ คือมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ เบต้าแคโรทีน,แกมมาโอไรซานอล, วิตามินอี, แทนนิน, สังกะสี, โฟเลตสูง, มีดัชนีน้ำตาลต่ำ-ปานกลาง นอกจากนี้รำข้าวและน้ำมันรำข้าว ยังมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่ดีเหมาะสำหรับใช้ทำผลิตภัณฑ์อาหารเชิงบำบัดอีกด้วย
![]() |
ภาพเมล็ดข้าวเปลือกข้าวไรซ์เบอรี่ |
ลักษณะประจำพันธุ์ข้าวไรซ์เบอรี่ Riceberry
ความสูง 105-110 ซม.
อายุเก็บเกี่ยว 130 วัน
ผลผลิต 750-1000 กก. / ไร่
% ข้าวกล้อง (Brown rice) 76 %
% ต้นข้าวหรือข้าวเต็มเมล็ด (head rice) 50 %
ความยาวของเมล็ด
ข้าวเปลือก 11 ม.ม. ข้าวกล้อง 7.5 ม.ม. ข้าวขัด 7.0 ม.ม.
![]() |
ภาพเมล็ดข้าวเปลือกข้าวไรซ์เบอรี่ |
ปริมาณ Amylose 15.6 %
อุณหภูมิแป้งสุก < 70 ° C
ธาตุเหล็ก 13-18 mg/kg
ธาตุสังกะสี 31.9 mg/kg
โอเมกา-3 25.51 mg/100g
วิตามิน อี 678 ug /100g
โฟเลต 48.1 ug/100g
เบต้าแคโรทีน 63 ug/100g
โพลีฟีนอล 113.5 mg/100g
แทนนิน 89.33 mg/100g
แกมมา-โอไรซานอล 462 ug/100g
สารต้านอนุมูลอิสระ
ชนิดละลายในน้ำ 47.5mg ascorbic acid quivalent/100g
ชนิดละลายในน้ำมัน 33.4 mg trolox equivalent/100 g
ข้าวสินเหล็ก Sinlek (ข้าวหอมต้านเบาหวาน, ธาตุเหล็กสูง)
สินเหล็ก Sinlek
ข้าวหอมต้านเบาหวาน, ธาตุเหล็กสูง
ข้าวสินเหล็กได้จากผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิล กับ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวสีขาวที่มีกลิ่นหอม รูปร่างเมล็ดเรียวยาว ไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ตลอดทั้งปี มีความต้านทานต่อโรคไหม้ข้าวสินเหล็กในฐานะเป็นข้าวหอมนุ่มที่มี ดัชนีน้ำตาล ต่ำ-ปานกลาง เมื่อนำมาทดลองบริโภคในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน พบว่าการบริโภคข้าวกล้องสินเหล็ก ช่วยแก้ปัญหาเบาหวานได้ ทำให้สภาวะดื้อต่อ insulin ลดลงและการทำงานของตับอ่อนดีขึ้น รวมทั้งทำให้ค่าเฉลี่ยของ triglyceride ลดลง นอกจากนี้ข้าวสินเหล็กยังมีธาตุเหล็กในเมล็ดสูง ข้าวพันธุ์นี้ได้ผ่านการประเมินคุณสมบัติความเป็นประโยชน์ของธาตุเหล็ก ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและในมนุษย์ โดยพบว่าการส่งเสริมการบริโภคข้าวสินเหล็กในเด็กนักเรียนที่มีภาวะพร่องธาตุเหล็ก ทำให้ระดับ hemoglobin มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ความสูง 148 ซม.
อายุเก็บเกี่ยว 120 วัน
ผลผลิต 600-800 กก./ไร่
% ข้าวกล้อง (brown rice) 76%
% ต้นข้าวหรือข้าวเต็มเมล็ด (head rice) 50%
ความยาวของเมล็ด
ข้าวเปลือก 11 ม.ม. ข้าวกล้อง 7.6 ม.ม. ข้าวขัด 7.0 ม.ม.

ปริมาณ Amylose 16.5 %
อุณหภูมิแป้งสุก 70-74 องศา
ธาตุเหล็ก 15-21 mg/kg
ความเป็นประโยชน์ของธาตุเหล็ก
ข้าวกล้อง 7.19 ng Ferritin/mg-cell protein
ข้าวขัด 8.30 ng Ferritin/mg-cell protein
ธาตุสังกะสี 26.9 mg/kg
Omega-3 22.4 mg/100g
Gamma oryzanol 372 ug/g
วิตามิน อี 680 ug/100g
โฟเลต 20.35 ug/100g
ดัชนีน้ำตาล 58
ที่มา ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว
![]() |
ภาพข้าวสินเหล็ก |
สารอาหารมหัศจรรย์จากข้าวกล้อง
สารอาหารมหัศจรรย์จากข้าวกล้อง
article : พัชรี ตั้งตระกูล ผู้เชี่ยวชาญการค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
จากกระแสรักสุขภาพทำให้หลายคนหันมาตื่นตัว ปรับวิธีการรับประทานอาหารและการดำเนินชีวิตที่ดีมากขึ้น แต่ก็ยังมีประเด็นที่ยังเข้าใจการรักษาสุขภาพแบบผิดๆ โดยเฉพาะวัยรุ่นที่ไม่รับประทานข้าวเพราะเข้าใจผิดคิดว่าข้าวทำให้อ้วน แต่หันไปรับประทานขนมปัง หรือพาสต้าจากข้าวสาลีแทน
ขณะที่ชาวต่างประเทศหันมารับประทานข้าวมากขึ้น เพราะข้าวไม่มีโปรตีนที่ทำให้เกิดอาการแพ้เหมือนข้าวสาลี ไม่มีโคเลสเตอรอล แถมยังมีไขมันต่ำ ข้าวจึงได้ชื่อว่าเป็นสุดยอดอาหารธัญพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวกล้องที่มีคุณค่าอาหารอันเป็นประโยชน์ตามธรรมชาติ ซึ่งสารอาหารมหัศจรรย์ในข้างกล้องดีกว่าข้าวขาวในประเด็นของ
โปรตีน ข้าวกล้องยังมีโปรตีน ช่วยเสริมสร้าง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
แป้ง แป้งในข้าวกล้องถือเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (complex carbohydrate) ที่มีการย่อยสลายอย่างช้าๆ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในสภาวะควบคุม ข้าวกล้องจึงช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้ และให้พลังงานต่ำ ช่วยรักษาน้ำหนักตัวไม่อ้วน แต่แป้งในข้าวขาวถือเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว (simple carbohydrate) ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงเร็ว ไม่สมดุลกับระดับอินซูลิน ทำให้น้ำตาลเหลือในกระแสเลือดมาก ร่างกายจะเปลี่ยนน้ำตาลเป็นไขมัน เป็นสาเหตุที่ทำให้อ้วนง่าย
วิตามินและเกลือแร่ ข้าวกล้องมีวิตามินเอ วิตามินอี วิตามินบี 1 ที่ป้องกันโรคเหน็บชา วิตามินบี 2 ป้องกันโรคปากนกกระจอก และวิตามินบีอื่นๆ อีกหลายชนิด และยังอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส ซิลิเนียม แมกนีเซียมที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ และโพแทสเซียม ช่วยลดความดันโลหิต
ใยอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นไปอย่างปกติ ลดการท้องผูก ป้องกันโรคเกี่ยวกับลำไส้ และโรคมะเร็งลำไส้ นอกจากนี้ยังป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน
สารต่อต้านอนุมูลอิสระ เช่น แอนโทไซยานิน ไฟโตสเตอรอล โทโคเฟอรอล ออริซานอล กรดโฟลิก
จากคุณสมบัติดังกล่าวทำให้องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริการับรองให้ข้าวกล้องสามารถใช้ฉลากอาหารกล่าวอ้างของธัญพืชเต็มเมล็ด (whole grain) ที่ว่าเป็นอาหารที่มีไขมันต่ำ ไขมันอิ่มตัวต่ำ และโคเลสเตอรอลต่ำได้อย่างเต็มภาคภูมิ แถมยังอ้างคุณสมบัติในการช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและมะเร็งบางชนิดได้อีกด้วย
...แล้วมีเหตุอะไรที่เราปฏิเสธการรับประทานข้าวกล้องกัน? หรือถ้าจะรับประทานก็ยังจำกัดเฉพาะกลุ่ม...อาจเป็นเพราะว่าโดยธรรมชาติข้าวกล้องเก็บรักษายาก หุงก็ยากและใช้เวลา เนื้อก็แข็งถึงหยาบ รับประทานแล้วทำให้ฝังใจว่าไม่อร่อย อย่างไรก็ตามวิธีที่ทำให้ข้าวกล้องอัพเกรดเป็นข้าวในใจคุณก็มีอยู่หลายทาง เริ่มตั้งแต่
การเลือกซื้อข้าวกล้อง ไม่ว่าจะเป็นข้าวเจ้ากล้องหรือข้าวเหนียวกล้องที่ผ่านการกะเทาะใหม่ ควรมีจมูกข้าวติดอยู่ และใส่บรรจุในถุงสุญญากาศ
การเก็บรักษา เนื่องจากอายุการเก็บรักษาข้าวกล้องที่มีคุณภาพจะอยู่ที่ 1-2 เดือน เพื่อป้องกันข้าวกล้องเก่ามีมอด กลิ่นอับและเหม็นหืน ควรซื้อครั้งละน้อยๆ แทน และถ้าเป็นไปได้ควรเก็บในตู้เย็น
การเลือกชนิดข้าวกล้อง ลองเลือกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่นิยมนำมาทำเป็นข้าวกล้อง เพราะเมื่อหุงสุกแล้วจะมีความนุ่มเหนียว
เทคนิคการหุงที่ถูกต้อง เริ่มจากล้างข้าวกล้องให้สะอาดและแช่น้ำก่อนหุง จะทำให้เนื้อนุ่มขึ้นและหุงเร็ว
ข้าวกล้องที่วางขายในซูเปอร์มาร์เกตหรือร้านค้าก็มีมากมายจนเลือกไม่ถูก เช่น ข้าวกล้องบางชนิดที่มีผิวเมล็ดไม่เรียบ ข้าวกล้องสีน้ำตาลหรือสีเหลืองนวล สีแดง สีม่วงซึ่งขึ้นกับสารสีที่อยู่ในเยื่อหุ้มเมล็ด ซึ่งชื่อของข้าวกล้องที่เราเห็นกันบ่อยๆ ได้แก่
ข้าวซ้อมมือ เป็นข้าวที่กะเทาะเปลือกโดยใช้ครกกระเดื่อง หรือครกไม้ตำ แล้วนำมาฝัดแยกแกลบออก ข้าวอาจมีการแตกหักบ้าง มักเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำโดยกลุ่มแม่บ้านต่างๆ
ข้าวมันปู เป็นข้าวที่มีสีน้ำตาลแดงแม้ว่าผ่านการขัดสีหลายครั้ง ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าเป็นข้าวกล้อง ถ้าเป็นข้าวมันปูกล้องต้องมีคัพภะข้าวติดอยู่ จึงจะเป็นข้าวที่มีคุณค่าอาหารสูง
ข้าวหอมมะลิแดง เป็นข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง ทำให้ได้ประโยชน์จากสารให้สีแอนโทไซยานินอีกด้วย ซึ่งคุณค่าโภชนาการจะสูงก็ต้องทำเป็นข้าวกล้องหอมมะลิแดงเช่นกัน
ข้าวกาบา (GABA-rice) ผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องไทยที่ได้รับรางวัลจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เป็นข้าวกล้องที่นำมาทำให้เริ่มงอก และควบคุมให้เกิดสาร GABA สูงสุด สูงมากกว่าในข้าวกล้องและข้าวขาว ทั้งยังมีใยอาหาร วิตามินอี วิตามินบี1 บี2 บี6 แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม กรดอะมิโนสูงขึ้นอีกด้วย
กาบาจัดเป็นสารสื่อประสาทประเภทยับยั้ง ในระบบประสาทส่วนกลาง ทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมอง ป้องกันการนอนไม่หลับและอาการกระวนกระวายใจ ช่วยรักษาความดันของเลือด ช่วยให้ร่างกายสะสมไขมันน้อยลงจากการกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต นอกจากนี้ข้าวกาบายังหุงง่าย มีเนื้อสัมผัสนุ่ม รับประทานง่ายกว่าข้าวกล้องธรรมดา หากการรับประทานข้าวกล้องดูเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคย อาจเริ่มจากข้าวกาบาก่อนก็ช่วยได้
ข้าวนึ่ง คือข้าวที่ได้จากการสีข้าวเปลือกที่ผ่านการแช่น้ำ นึ่งและอบแห้ง ผลดีของการทำข้าวนึ่งคือลดปริมาณข้าวหักระหว่างการขัดสี เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ เช่นวิตามินบี และแร่ธาตุบางชนิดซึมเข้าสู่เมล็ดข้าวขณะแช่ข้าวเปลือก ข้าวนึ่งมีลักษณะร่วนแข็งจึงนิยมกันแถบอินเดีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง แม้ว่าข้าวนึ่งเป็นข้าวที่ผ่านการขัดสี แต่ก็มีคุณค่าอาหารมากกว่าข้าวขาว
ข้าวฮาง หรือข้าวหอมทอง เป็นข้าวนึ่งชนิดหนึ่งที่ทำจากข้าวขาวดอกมะลิ 105 หรือข้าวเหนียว นิยมทำกันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดสกลนคร
ข้าวก่ำ เป็นข้าวเหนียวดำที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง มีคุณค่าโภชนาการมาก
ข้าวโภชนาการสูง ได้แก่ ข้าวเจ้าหอมนิล ข้าวธาตุเหล็กสูง ข้าวดัชนีน้ำตาลต่ำ ข้าวที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ข้าวแต่ละพันธุ์ต่างก็มีความเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ทางโภชนาการที่จำเพาะ
ข้าวรวมมิตร เป็นความฉลาดของผู้ผลิตที่นำข้าวชนิดต่างๆ มาผสมกัน เช่น ข้าว 5 สี ประกอบไปด้วยข้าวกล้อง ข้าวสีแดง ข้าวสีม่วง ข้าวหอมนิลและข้าวเหนียวดำ การผสมข้าวกล้องผสมกับข้าวสาร การผสมข้าวกล้องผสมธัญพืชอื่น เช่น ถั่ว งา เป็นต้น เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารและจุดขายของผลิตภัณฑ์นั่นเอง แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดควรเลือกข้าวกล้องที่มีจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดติดอยู่ อันเป็นส่วนที่มีคุณค่าโภชนาการสูง
จริงอยู่ว่าข้าวกล้องอาจมีราคาแพงกว่าข้าวขาว ทั้งๆ ที่ผ่านการกะเทาะเปลือกอย่างเดียว ไม่ต้องใช้เครื่องขัดขาว ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะกลุ่มผู้บริโภคข้าวกล้องยังน้อย จึงทำให้มีราคาสูง ในอนาคตหากเราหันมากินข้าวกล้องกันมากขึ้น ราคาก็อาจถูกลง และถ้าคุณลองรับประทานข้างกล้องเป็นประจำ ก็จะพบว่าข้าวกล้องอร่อยกว่าข้าวขาว โดยเฉพาะความกรุบกรอบ และเนื้อสัมผัสของข้าวเวลาเคี้ยว แถมยังมีคุณค่าอัดแน่นเต็มเมล็ดอีกต่างหาก
ที่มา :http://www.healthtoday.net/
ข้าวหอมมะลิ (Thai Hom Mali Rice)
ข้าวหอมมะลิ (Thai Hom Mali Rice)
![]() |
ภาพข้าวหอมมะลิ |
เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย จัดเป็นข้าวนาปี ปลูกได้เพียงปีละ 1 ครั้ง ลักษณะข้าวเปลือกเรียวยาว เมื่อสีเป็นข้าวสารจะได้ข้าวเมล็ดเรียว ยาว ขาวใสเป็นเงา แกร่ง มีท้องไข่น้อย มีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย เป็นพันธุ์ข้าวที่นิยมบริโภคอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเป็นพันธุ์ข้าวที่สร้างชื่อเสียงให้ข้าวไทยเป็นที่รู้จักทั่วโลก
แหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่สำคัญของไทย
![]() |
ภาพต้นข้าวหอมมะลิ |
ประเทศไทยถือเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดีที่สุดแห่งหนึ่ง โดยมีแหล่งเพาะปลูกสำคัญ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เขตทุ่งกุลาร้องไห้) และมีพื้นที่เพาะปลูกครอบคลุมกว่า 19 ล้านไร่ทั่วประเทศ โดยมีแหล่งผลิตสำคัญ คือ จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด รองลงมาคือภาคเหนือ เนื่องจากสภาพดินฟ้า-อากาศและพื้นที่เพาะปลูกของทั้งสองภาคคล้ายคลึงกัน เหมาะแก่การเจริญเติบโตของข้าวหอมมะลิ กล่าวคือ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ดอน ฝนจะเริ่มตกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ชาวนาจะเริ่มหว่านไถ ในเดือนมิถุนายน และเพาะปลูกอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม เมื่อฝนเริ่มหมด ปลายเดือนตุลาคมจนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน จึงเริ่มเก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤศจิกายนความชื้นจะน้อยเพราะเป็นช่วงที่ลมหนาวจากเมืองจีนเริ่มพัดเข้ามาในสองภาคนี้ ทำให้อากาศแห้งเหมาะในการเก็บเกี่ยว การตาก การนวด ก็ทำได้ง่าย เพราะน้ำแห้งนาหมดแล้ว ไม่มีฝน จึงทำให้ได้เมล็ดข้าวที่มีคุณภาพ สำหรับการปลูกข้าวหอมจะทำกันได้ดีเฉพาะที่ที่เป็นนาดอนเสียเป็นส่วนใหญ่
คุณสมบัติของข้าวหอมมะลิ
![]() |
ภาพข้าวหอมมะลิขัดข้าว |
ข้าวหอมมะลิที่นิยมปลูกและบริโภคกันอย่างแพร่หลายคือพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 และ พันธุ์ กข.15 ความหอมของข้าวหอมมะลิ เกิดจากสารระเหยชื่อ 2-acetyl-1-pyroline ซึ่งเป็นสารที่ระเหยหายไปได้ การรักษาความหอมของข้าวหอมที่ดีต้องเริ่มตั้งแต่ การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษาข้าวเปลือกการสีข้าว และการเก็บรักษาข้าวที่สีเรียบร้อยแล้วการจะรักษาความหอมของข้าวเอาไว้ต้องพยายามหลีกเลี่ยงภาวะแวดล้อมที่ร้อน อบอ้าว และมีความชื้นสูง การตากแดดหรือใกล้สถานที่ร้อนจัดเป็นเวลานานๆ เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่งสภาวะที่เหมาะสมคือที่ที่มีอากาศค่อนข้างเย็น มีการถ่ายเทของอากาศดี ความชื้นไม่สูง
ข้าวหอมใหม่ (NEW CROP) หมายถึงข้าวหอมที่พึ่งเก็บเกี่ยวมาได้สักระยะหนึ่ง และมีการดูแลรักษาอย่างดี ก่อนที่จะนำมาบริโภค ข้าวหอมใหม่จะให้ความหอมขณะหุงต้ม ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจากข้าวชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ข้าวหอมที่หุงแล้ว ยังมีลักษณะนุ่มเหนียว มียาง เกาะตัวกันพอสมควร มีรสชาติอร่อย
ข้าวหอมที่เก็บไว้นานขึ้น (ข้าวเก่า) คือ ข้าวที่เก็บเกี่ยวมาแล้วเก็บไว้เป็นเวลานาน 5-6 เดือนขึ้นไป ความหอมจะเจือจางลง รวมทั้งความนุ่มเหนียวลดลงด้วย เมื่อนำข้าวหอมนี้มาหุงจะต้องใช้ปริมาณน้ำมากขึ้นกว่าข้าวใหม่ ถึงแม้ความหอมจะลดน้อยลงไปแต่ยังคงมีรสชาติอร่อยเหมือนเดิม
ประเภทของข้าวหอมมะลิ
กระทรวงพาณิชย์ (กรมการค้าต่างประเทศ) ได้แบ่งประเภทของ ข้าวหอมมะลิไทย ออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้าวขาว (8 ชนิด) และข้าวกล้อง ( 6 ชนิด)
- ข้าวขาวแบ่งออกเป็น 8 ชนิด ดังนี้
- ข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 1
- ข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 2 (มีปริมาณส่งออกมากที่สุด)
- ข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 3
- ข้าวขาว 5 เปอร์เซ็นต์
- ข้าวขาว 10 เปอร์เซ็นต์
- ข้าวขาว 15 เปอร์เซ็นต์
- ข้าวขาวหักเอวันเลิศพิเศษ
- ข้าวขาวหักเอวันเลิศ
- ข้าวกล้องแบ่งออกเป็น 6 ชนิด ดังนี้
- ข้าวกล้อง 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 1
- ข้าวกล้อง 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 2
- ข้าวกล้อง 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 3
- ข้าวกล้อง 5 เปอร์เซ็นต์
- ข้าวกล้อง 10 เปอร์เซ็นต์
- ข้าวกล้อง 15 เปอร์เซ็นต์
ข้าวหอมมะลิแท้-ดูอย่างไร
วิธีการตรวจความเป็นข้าวหอมมะลิ
การตรวจสอบที่สามารถยืนยันว่าเป็นข้าวหอมมะลิแท้หรือไม่นั้น ปัจจุบันมีเพียงวิธีเดียว คือ การตรวจสายพันธุกรรม (DNA) ซึ่งมีสถาบันที่สามารถตรวจสอบได้อยู่น้อย* มีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบค่อนข้างสูง และต้องใช้เวลาในการตรวจสอบพอสมควร นอกจากนี้ยังมีวิธีการตรวจสอบเบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางในการบ่งชี้หาความเป็นข้าวหอมมะลิ คือ วิธีการตรวจทางกายภาพ
วิธีการตรวจลักษณะเมล็ดข้าวเปลือกหอมทางกายภาพ
พิจารณาจาก ลักษณะสีของเปลือก ขนาดรูปทรงของเมล็ดข้าวเปลือก ลักษณะพิเศษที่มีเอกลักษณ์เฉพาะที่บ่งชี้ว่าเป็นข้าวหอมอะไร (ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญ) เช่น
- ข้าวหอมมะลิ 105 มีจุกหางแยกออกชัดเจน
- ข้าวหอมมะลิ กข.15 ที่จุกหางมีลักษณะงอนขึ้นมากกว่า และเมล็ดจะกว้างกว่า
- ข้าวปทุมธานี 105 จะมีลักษณะคล้ายกับ หอมมะลิ 105 ต่างกันที่จุกหางจะแยกน้อยกว่า
- ข้าวหอมมะลิ 105 มีจุกหางแยกออกชัดเจน
- ข้าวหอมมะลิ กข.15 ที่จุกหางมีลักษณะงอนขึ้นมากกว่า และเมล็ดจะกว้างกว่า
- ข้าวปทุมธานี 105 จะมีลักษณะคล้ายกับ หอมมะลิ 105 ต่างกันที่จุกหางจะแยกน้อยกว่า
วิธีการตรวจลักษณะเมล็ดข้าวสารหอมที่ผ่านการกะเทาะเอาเปลือกและรำ ออกแล้ว
![]() |
ภาพเมล็ดข้าวสารหอมมะลิ |
- การตรวจทางกายภาพ (มีมาตรฐานกำหนด) พิจารณาจาก ลักษณะรูปทรงของเมล็ดข้าวขนาดความยาวของเมล็ดข้าวและความยาวเฉลี่ย ต่อความกว้างของเมล็ด ลักษณะพิเศษ ที่บ่งชี้ว่าเป็นข้าวหอมอะไร และวิธีตรวจสอบเมล็ดข้าวสุกที่ต้มในน้ำเดือด
- การตรวจทางเคมี คือ การทดสอบหาปริมาณอมิโรส การทดสอบหาปริมาณข้าวเจ้าอื่นที่ไม่ใช่ข้าวหอมมะลิไทยปน โดยการหาค่าการสลายเมล็ดข้าวในด่าง หรือการย้อมสี และการทดสอบความสดของข้าว
- การตรวจทางเคมี คือ การทดสอบหาปริมาณอมิโรส การทดสอบหาปริมาณข้าวเจ้าอื่นที่ไม่ใช่ข้าวหอมมะลิไทยปน โดยการหาค่าการสลายเมล็ดข้าวในด่าง หรือการย้อมสี และการทดสอบความสดของข้าว
ข้าวหอมมะลิ มนต์เสน่ห์ข้าวหอมไทย
กลิ่นหอมของข้าวถือเป็นมนต์เสน่ห์ที่ชวนรับประทานที่สุด ด้วยเพราะความนุ่มและความหอมหวานทำให้ความนิยมในข้าวหอมมะลิ มีมากขึ้นเรื่อยๆ กลิ่นหอมหวานของข้าวชนิดนี้เกิดจากการผสมผสานของสารระเหยมากกว่า 200 ชนิด แต่มีสารที่เป็นองค์ประกอบหลักคือสาร 2 เอพี (2-acetyl-1-pyrroline) ที่ผลิตเฉพาะในข้าวหอม ใบเตย ดอกชมนาถเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิด ในเชิงวิทยาศาสตร์ ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงบทบาทของสารหอม 2 เอพีในพืชและจุลินทรีย์ แต่เชิงโภชนาการแล้ว กลิ่นหอมของข้าวช่วยทำให้อยากรับประทานอาหารมากขึ้น
การผลิตสารหอมระเหยนี้เป็นผลมาจากการทำงานของขบวนการทางชีวเคมีใดยังไม่เป็นที่แน่ชัด จนในปี พ.ศ. 2547 กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ไทยได้ค้นพบรหัสพันธุกรรมหรือยีนที่เป็นกุญแจสำคัญในการสร้างสารหอมในข้าวหอมมะลิไทย และเป็นยีนเดียวกันกับที่พบในข้าวหอมทุกพันธุ์ในโลก ดังนั้น รหัสพันธุกรรมของยีนความหอมจึงได้ถูกเปิดเผยขึ้นแล้ว

การถอดรหัสยีนความหอม
ยีนความหอมเป็นลักษณะด้อย กล่าวคือเมื่อเอาข้าวหอมผสมกับข้าวไม่หอม ลูกที่ได้จะไม่หอม นั่นหมายถึง ยีนไม่หอมทำงานข่ม (dominant) ในอดีตนักวิทยาศาสตร์จากหลายประเทศ เช่น ไทย, อเมริกา, ฝรั่งเศส, ออสเตรเลีย ต่างพบว่ารหัสพันธุกรรมที่สำคัญนี้น่าจะอยู่บริเวณเล็กๆ ของโครโมโซมคู่ที่ 8 โดยวางตำแหน่งเอาไว้เทียบเคียงกันได้โดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ แต่ไม่มีใครสามารถเข้าใกล้ยีนนี้ได้เนื่องจาก การแยกข้าวหอมจากไม่หอมทำได้ยาก จนนักวิทยาศาสตร์ไทยสามารถสร้าง “ ข้าวคู่แฝด “ (Isogonic’s line) ได้สำเร็จ และนำไปสู่การค้นพบยีนความหอมได้ในที่สุด นับเป็นการค้นพบครั้งแรกของโลก

สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
1. สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2. ศูนย์ปฏิบัติการดีเอ็นเอเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน